"เตือนภัยทุเรียนขาดน้ำและโรคราแป้งในเงาะ ช่วงวันที่ 4 - 10 มี.ค. 63" เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน

วันที่บันทึก 2020-03-03 10:00:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน และไม่มีฝน อาจส่งผลกระทบต่อทุเรียนขาดน้ำ ทั้งที่ยังไม่ให้ผลผลิต และให้ผลผลิตแล้ว อาการที่พบ คือ ใบทุเรียนแสดงอาการเหี่ยว ขอบใบ จะมีสีเหลืองและไหม้จากปลายใบ เข้ามา ในที่สุดใบก็จะร่วง ซึ่งหาก ไม่มีการให้น้ำ ต้นทุเรียนจะตายทั้ง กิ่งหรือยืนต้นตาย 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. คลุมโคนต้นทุเรียน เพื่อรักษาความชื้นของดิน และลดการระเหยน้ำจากดิน

2. ตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายโดยโรคหรือแมลง หรือกิ่ง ที่เบียดชิดกัน เพื่อลดการใช้น้ำของพืช

3. ในกรณีที่ทุเรียนติดผลมาก แต่ไม่มีน้ำให้อย่าง เพียงพอ ควรตัดซอยผลทิ้งบ้างเพื่อให้ต้นไม้อยู่รอดได้

4. หากมีแหล่งน้ำ ควรให้น้ำทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะออกดอกจนถึงระยะผลแก่ 

สภาพอากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ อาจเกิดผลกระทบโรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium nephelii) ในเงาะ อาการที่พบ คือ พบโรคระบาดมากในระยะที่เงาะ สร้างช่อดอก และผลอ่อน โดยพบผง สีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะ บนช่อดอก และตามร่องขนของผล ทำให้ติดผลน้อย หรือไม่ติดผล ถ้า ติดผลจะมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ หลุดร่วงง่าย หรือทำให้ผลเน่าแห้ง ติดคาที่ก้านช่อ หากเป็นโรคในระยะ ผลโตจะทำให้ขนแห้ง แข็ง ผิวผลมีสี คล้ำไม่สม่ำเสมอ ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ขนกุด เรียกว่า เงาะขน เกรียน ในระยะที่ผลกำลังสุก ส่วน ที่มีเชื้อราปกคลุมจะมีสีซีดกว่าปกติ นอกจากนี้ อาจพบอาการของโรค ได้ที่ส่วนยอดและใบ หากอาการ รุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วง 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และตัดแต่งทรงพุ่ม เงาะให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก เป็นการ ลดความชื้นในทรงพุ่ม และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของ เชื้อสาเหตุโรค

๒. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบเริ่ม มีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อ สาเหตุโรค

๓. หากพบว่ามีการระบาดของโรค พ่นด้วยสาร ป้องกันกำจัดโรคพืช ซัลเฟอร์ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรโฟรีน 19% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบโน มิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บผลผลิต อย่าง น้อย 15 วัน 

 

**** ไม่ควรพ่นสารในช่วงดอกบาน เพื่อป้องกัน ผลกระทบต่อการผสมเกสร    สำหรับสารซัลเฟอร์ ไม่ควรพ่นในสภาพอากาศ ร้อน หรือมีแดดจัด เพราะอาจทำให้เกิดอาการไหม้ที่ ช่อดอกและผลอ่อนได้

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร