"เตือนภัยเกษตร เพลี้ยไฟในมะม่วง พริก กับไรสองจุดในสตรอว์เบอร์รี่ และหนอนเจาะฝักถั่วและหนอนกระทูผักในถั่วเหลือง ช่วงวันที่ 26 ก.พ. - 3 มี.ค. 63" สภาพอากาศเย็นตอนกลางคืน และในตอนเช้า ช่วงกลางวันอากาศร้อน

วันที่บันทึก 2020-02-26 15:00:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

สภาพอากาศเย็นตอนกลางคืน และในตอนเช้า ช่วงกลางวันอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดโรคและแมลงในศัตรูพืช ขอให้เกษตรเฝ้าระวังแปลงไม้ผล และแปลงพืชผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะ มะม่วง พริก สตรอว์เบอร์รี่ และถั่วเหลือง เพลี้ยไฟในมะม่วง อาการที่พบในช่วงระยะพัฒนาผล ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อ และดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอก มะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอก และขั้วผล อ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกท าลาย กรณี ที่ระบาดไม่รุนแรงจะปรากฏแผลชัดเจนเป็น วงใกล้ขั้วผลมีสีเทาเงินเกือบด า หรือผลบิด เบี้ยว ถ้าท าลายรุนแรงผิวของผลมะม่วงจะเป็น สีด าเกือบทั้งหมด ท าให้ผลผลิตมีราคาต่ำลง การทำลายในระยะติดดอกจะทำให้ช่อดอก หงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล หรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนอาการที่ปรากฏบนยอดอ่อนจะทา ให้ใบที่แตกใหม่ แคระแกร็น ขอบใบและ ปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ สำหรับ ใบที่ขนาดโตแล้ว เพลี้ยไฟมักลงทำลายตาม ขอบใบทำให้ใบม้วนงอ และปลายใบไหม้ ถ้า เป็นการทำลายที่ยอดจะรุนแรง ทำให้ยอดแห้ง ไม่แทงช่อใบ หรือช่อดอก การทำลายที่ตา ช่อ ดอกบิดเบี้ยว หงิกงอ หรือติดผลน้อย ผล เล็กๆ ที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายอาจร่วงหล่นได้

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาด ไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักอยู่กันเป็น กลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช

2. การพ่นสารฆ่าแมลง ควรพ่นระยะติด ดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ระยะเริ่มแทง ช่อดอกและระยะเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร) ถ้า หากปีใดพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรงก็จำเป็นต้องพ่นซ้ำในระยะก่อนดอกบาน

3.สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเฟนโพรพาทริน ๑๐% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร* ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้ สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อ แมลงผสมเกสรได

เพลี้ยไฟพริก ระยะพัฒนาทางด้านลำต้น - เก็บเกี่ยวผลผลิต ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากยอด ใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ใบ หรือ ยอดอ่อนหงิก ขอบใบหงิกหรือม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำลายระยะพริกออกดอก จะทำให้ดอก พริกร่วงไม่ติดผล การทำลายในระยะผล จะทำ ให้รูปทรงของผลบิดงอ ถ้าการระบาดรุนแรง พืชจะชะงักการเจริญเติบโต หรือแห้งตายในที่สุด

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. สุ่มสำรวจพริก 100 ยอด ต่อไร่ ทุกสัปดาห์ โดยเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ และทำการ ป้องกันกำจัดเมื่อพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ยมากกว่า 5 ตัวต่อยอด ในขั้นต้นควรเพิ่มความชื้นโดยการ ให้น้ำ อย่าปล่อยให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืช อ่อนแอ และเพลี้ยไฟพริกจะระบาดอย่างรวดเร็ว

2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันกำจัด แหล่งปลูกใหม่ พ่นด้วยคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด แหล่งปลูกเดิม พ่นด้วยฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92 % อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10% เอสเอล อัตรา 20-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด ขณะพ่นสารควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอยที่สุด และพ่นให้ทั่วตามส่วนต่างๆ ของพืชที่เพลี้ยไฟพริก อาศัยอยู่กรณีระบาดรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ สภาพอากาศแห้งแล้ง ควรใช้ปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยให้ ต้นพริกฟื้นตัวจากอาการใบหงิกได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น

หนอนกระทู้หอมในพริก

อาการที่พบ หนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกัดกินผิวใบบริเวณ ส่วนต่างๆ ของพริกเป็นกลุ่ม และความเสียหาย จะรุนแรงในระยะหนอนวัย ๓ ซึ่งจะแยกย้าย กัดกินทุกส่วนของพืช เช่น ใบ ดอก และผลพริก หากปริมาณหนอนมากความเสียหายจะรุนแรง ผลผลิตเสียหายและคุณภาพไม่เป็นที่ต้องการ ของตลาด

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1.วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการ เก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้ เป็นการ ลดแหล่งสะสมและขยายพันธุ์

2. วิธีกล เช่น เก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย จะช่วยลดการระบาดลงได้

3. ใช้สารลินทรีย์ ช่น เชื้อไวรัส (นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส) หนอนกระทู้หอม เช่น DOA BIO V1 (กรมวิชาการเกษตร) หรือใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki ควรใช้ในระยะที่มีการ ระบาดน้อย หนอนมีขนาดเล็ก และพ่นในช่วง เวลาเย็น หากระบาดมากให้ใช้สารฆ่าแมลง

4. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน กำจัด เช่น คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทอกซีฟีโนไซด์ 24% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็ก

****ควรพ่นสลับกลุ่มสาร เพื่อหลีกเลี่ยง แมลงสร้างความต้านทาน

ไรสองจุดสตรอว์เบอร์รี่ ช่วงติดดอกออกผล ถึงเก็บเกี่ยว

อาการที่พบ

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณ ใต้ใบสตรอว์เบอร์รี ทำให้ผิวใบบริเวณที่ไรดูด ทำลายอยู่มีลักษณะกร้าน ใต้ใบเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลแดง ผิวใบด้านบนเหนือบริเวณที่ไรดูด ทำลายอยู่จะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็กๆ กระจาย อยู่ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาว เล็กๆ เหล่านี้จะค่อยๆ แผ่ขยายติดต่อกันเป็น บริเวณกว้าง จนทำให้ทั่วทั้งใบ มีลักษณะ เหลืองซีด ใบร่วง และอาจเป็นผลทำให้สตรอว์ เบอร์รีหยุดชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิต ลดลงได้ ไรที่ทำลายอยู่บริเวณใต้ใบนี้ เมื่อ ประชากรหนาแน่นมากจะสร้างเส้นใยสานโยง ไปมาระหว่างใบและยอดของต้นพืชที่ไรอาศัย อยู่ เพื่อรอจังหวะให้ลมพัดพาไรที่เกาะอยู่ตาม เส้นใย ลอยไปตกยังใบหรือยอดพืชต้นอื่นๆ ที่ มีอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าต่อไป

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. หมั่นทำความสะอาดแปลง อย่าให้มีวัชพืชในแปลงปลูก และไม่ควรปลูกพืชผัก แซมในแถวปลูกสตรอว์เบอร์รีเพราะพบว่า จะเป็นการเพิ่มพืชอาศัยให้ไรสองจุด

2. เมื่อสำรวจพบว่า เริ่มมีไรสองจุดทำลายใต้ ใบสตรอว์เบอร์รีในระยะแรก (ประมาณ 1-2 ตัวต่อใบย่อย) ให้ปล่อยไรตัวห้ำ อัตรา ประมาณ 2-5 ตัวต่อต้น หรือประมาณ 5,300-13,300 ตัวต่อแปลงสตรอว์เบอร์รี พื้นที่ ๑ งาน ควรปล่อยเป็นระยะๆ ห่างกัน ประมาณ ๒ สัปดาห์ กรณีที่มีจำนวนไรสอง จุดสูงเกินกว่าระดับเศรษฐกิจ (๕-๒๐ ตัวต่อ ใบย่อย) ให้ปล่อยไรตัวห้ำอย่างท่วมท้นใน อัตราสูง ประมาณ 30-40 ตัวต่อต้น จำนวน 3-4 ครั้ง ไรตัวห้ำจะสามารถ ควบคุมการระบาดของไรสองจุดได้และ ปล่อยไรตัวห้ำซ้ำทุกๆ 2 สัปดาห์

3. ในกรณีที่ประชากรไรสองจุดยังเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องใช้สารกำจัดไร สารกำจัดไรที่ใช้ ในการป้องกันกำจัดไรสองจุดได้ผลดี ได้แก่

เฟนไพรอกซิเมต 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น โดยเฉพาะใต้ใบแก่

**ควรใช้สารเฟนไพรอกซิเมต เป็นอันดับ แรกเนื่องจากอันตรายน้อยต่อไรตัวห้ำ **ควรพ่นสารโพรพาร์ไกต์ในเวลาแดดไม่จัด เพราะจะทำให้ใบอ่อนไหม้ได้

หนอนเจาะถั่ว ถั่วเหลือง ระยะติดฝักเจริญเต็มที่และเริ่มสะสมน้ำหนัก

อาการที่พบ

หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดที่อยู่ในฝัก หลังจากฟักออกมาจากไข่ หนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถย้ายไปกัดกินฝักอื่นๆ ได้โดยชักใยดึง ฝักมาติดกันแล้วเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดที่อยู่ ภายในฝักใหม่ การเข้าทำลายของหนอนเจาะ ฝักถั่วทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลงมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นสารฆ่าแมลง ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

หนอนกระทู้ผัก

อาการที่พบ

ตัวหนอนกระทู้ผักจะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายใน ฝักจนหมด แล้วเคลื่อนย้ายไปทำลายฝักที่อยู่ ติดกัน ทำให้ผลผลิตลดลง

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นเชื้อไวรัสของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง เมื่อ พบการระบาด หรือ พ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร