เตือนภัยเกษตรกรผู้ปลูกอาโวกาโดระยะติดดอก ผลอ่อน จนถึงเก็บเกี่ยว เนื่องจากอากาศเย็นตอนกลางคืนและในตอนเช้า ช่วงกลางวันมีอากาศร้อน อาการที่ใบ พบจุดแผลสีน้ำตาลเข้ม ต่อมา แผลจะขยายและมีหลายแผลใน หนึ่งใบ หากอาการรุนแรงแผลจะ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ใบจะแห้ง และร่วง อาการที่ก้านใบ กิ่ง และก้านช่อดอก เป็นแผลจุดหรือขีดสีม่วง ถ้าอาการ รุนแรงแผลจะขยายลุกลาม ทำให้ ก้านใบและกิ่งแห้ง หากเกิดที่ก้านช่อ ดอกจะทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง หลุด ร่วงก่อนติดผล อาการที่ผล ผลอ่อนเป็นจุดแผลสี น้ำตาลถึงดำ หากอาการรุนแรงผล จะหลุดร่วงก่อนกำหนด อาการบน ผลแก่ มักพบในระยะใกล้เก็บเกี่ยว และหลังเก็บเกี่ยว พบแผลจุดสี น้ำตาลถึงดำรูปร่างกลม ขนาดไม่ แน่นอน ต่อมาแผลขยายลุกลามเป็น แผลยุบตัวในเนื้อผล ทำให้ผลเน่า บางครั้งพบเมือกสีส้มซึ่งเป็นส่วน ขยายพันธุ์ของเชื้อราที่บริเวณแผล
แนวทางการป้องกัน
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบเริ่ม มีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อ สาเหตุโรค
2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นเพื่อลดความชื้นสะสม
3. หากพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรค พ่นด้วยสาร ป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น อะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน
4. หลังจากเก็บผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้ โปร่ง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้น สะสมในทรงพุ่ม
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร