เนื่องจากสภาพอากาศเย็นตอนกลางคืน และเช้ากลางวันอากาศร้อนทำให้เกิดผลกระทบในมะม่วงและพริก เกษตรกรจึงต้องหมั่นสังเกตพืชผลในแปลงอย่างสม่ำเสมอ และหาทางรับมือกับโรคที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที ในช่วงวันที่ 3 -7 ก.พ. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ําสุด 4-15 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า สําหรับภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส บริเวณยอด ดอยและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ําสุด 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็น
มะม่วง โรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Collectotrichum Gleosporioides) ทุกระยะการเจริญเติบโต
อาการ
เชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุก ระยะ โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้ อาการที่ใบ ใบอ่อนพบจุดฉ่ำน้ำ ต่อมา เปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาลดำ หากอาการ รุนแรงแผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว เสีย รูปทรง ยอดอ่อนเหี่ยวและดำส่วนใบแก่ พบแผลรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม หากอาการ รุนแรงแผลจะทะลุเป็นรู อาการที่ช่อดอก พบจุดหรือขีดสีน้ำตาล แดงเล็กๆ บนก้านช่อดอก ต่อมาแผล ขยายใหญ่ หากมีความชื้นสูงจะพบเมือกสี ส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุ โรคอยู่ที่บริเวณแผล ทำให้ช่อดอกเหี่ยว แห้ง ดอกหลุดร่วงก่อนติดผล อาการที่ผลอ่อน พบจุดแผลสีน้ำตาลดำ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ผลที่ถูกทำลาย จะเป็นสีดำและหลุดร่วงก่อนกำหนด ในบางครั้งเชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายแบบแฝงใน ผลอ่อน โดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะ แสดงอาการของโรคเมื่อผลสุก และอาการ รุนแรงมากขึ้นตามความสุกของผล อาการที่ผลแก่ หรือผลสุกหลังเก็บเกี่ยว พบจุดสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลาม และยุบตัวลง ถ้ามีหลายแผลขยายมา ติดกัน ขนาดของแผลจะกว้างขึ้นและ ยุบตัวเป็นแอ่งบุ๋ม ทำให้เน่าทั้งผล บางครั้งพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบ พืชเริ่มมีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็น โรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณ เชื้อสาเหตุโรค
2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม
3. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควร ใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป
4. แหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ ในช่วงที่มะม่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และ หลังติดผลอ่อน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรค พืช แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน 25% เอส ซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพร คลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน โดยพ่นสารชนิดใดชนิด หนึ่งสลับกัน และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันเกิน 4 ครั้ง ในช่วงที่มะม่วงติดผล หากมี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัด โรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และ ควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่น้อยกว่า 15 วัน
5. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วน ที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้ เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป **** ควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค พืช ในช่วงดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการ ผสมเกสรของพืช
พริก หนอนกระทู้หอม ระยะพัฒนาการด้านลำต้น – เก็บเกี่ยวผลผลิต
อาการ
หนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกัดกินผิวใบ บริเวณส่วนต่างๆ ของพริกเป็นกลุ่ม และ ความเสียหายจะรุนแรงในระยะหนอนวัย 3 ซึ่งจะแยกย้ายกัดกินทุกส่วนของพืช เช่น ใบ ดอก และผลพริก หากปริมาณ หนอนมากความเสียหายจะรุนแรง ผลผลิตเสียหายและคุณภาพไม่เป็นที่ ต้องการของตลาด
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บ เศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้ เป็นการลดแหล่ง สะสมและขยายพันธุ์
2. วิธีกล เช่น เก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย จะ ช่วยลดการระบาดลงได้
3. ใช้สารจุลินทรีย์ เช่น เชื้อไวรัส (นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส) หนอนกระทู้หอม เช่น DOA BIO V1 (กรมวิชาการเกษตร) หรือใช้เชื้อ แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki ควรใช้ในระยะที่มีการระบาดน้อย หนอนมีขนาดเล็ก และ พ่นในช่วงเวลาเย็น หากระบาดมากให้ใช้สารฆ่าแมลง
4. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซ เอต 1.92% อีซีอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทอกซีฟีโนไซด์ 24% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาดควรพ่นเมื่อ หนอนมีขนาดเล็ก ****ควรพ่นสลับกลุ่มสาร เพื่อหลีกเลี่ยงแมลง สร้างความต้านทาน
ที่มา: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ภาพประกอบจาก