"เตือนภัย เพลี้ยพริกไฟ ช่วงวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 63" สภาพอากาศแดดแรงอากาศร้อนในตอนกลางวัน

วันที่บันทึก 2020-01-29 13:00:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

สภาพอากาศแดดแรงอากาศร้อนในตอนกลางวันและอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำลงในตอนกลางคืน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเพลี้ยพริกไฟ เกษตรกรจึงต้องหมั่นตรวจสอบในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ


พริก

ระยะพัฒนาการทางด้านลำต้น

- เก็บเกี่ยว ผลผลิต


อาการที่พบ

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากยอด ใบอ่อน

ตาดอก และดอก ทำให้ใบ

หรือยอดอ่อนหงิก ขอบใบ หงิกหรือม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำลาย ระยะพริกออกดอก

จะทำให้ดอกพริก ร่วงไม่ติดผล การทำลายในระยะผล จะทำให้รูปทรงของผลบิดงอ ถ้าการ

ระบาดรุนแรงพืชจะชะงักการ เจริญเติบโต หรือแห้งตายในที่สุด


แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. สุ่มสำรวจพริก ๑๐๐ ยอด ต่อไร่ ทุกสัปดาห์ โดยเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ และทำการป้องกัน กำจัดเมื่อพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ยมากกว่า ๕ ตัวต่อ ยอด ในขั้นต้นควรเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ อย่า ปล่อยให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ และ เพลี้ยไฟพริกจะระบาดอย่างรวดเร็ว

๒. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธภิาพในการป้องกันกำจัดแหล่งปลูกใหม่ พ่นด้วยคาร์บาริล ๘๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๒๐-๓๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ โพรไทโอฟอส ๕๐% อีซี อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน

๒๐% อีซี อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด แหล่งปลูกเดิม พ่นด้วยฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรืออีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรืออิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสเอล อัตรา ๒๐-๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด  ขณะพ่นสารควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอยที่สุด และพ่นให้ทั่วตามส่วนต่างๆ ของพืชที่เพลี้ยไฟพริกอาศัยอยู่ 


กรณีระบาดรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพ อากาศแห้งแล้ง ควรใช้ปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยให้ต้นพริกฟื้นตัวจากอาการใบหงิกได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น 



ที่มา: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร