ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือกับวิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าประเทศไทยต้องเผชิญฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือน มิ.ย. โดยคาดว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน(สถานะการณ์ภัยแล้ง 2563)
ปริมาณฝนน้อยใกล้เคียงกับปี 2522 แต่ปริมาณความต้องการใช้น้ในปัจจุบันมากกว่าในอดีต ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้สถานการณ์การใช้น้ำและผลกระทบรุนแรงกว่าปี 2558 โดยบางพื้นที่ในประเทศไทยเกิดภัยแล้วมาตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. ปี 2562 โดยสถานการณ์ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศว่ามีอยู่ร้อยละ 60 รวม 49,591 ล้านลูกบาศก์เมตร แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การร้อยละ 43 โดยเป็นแหล่งน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย 14 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวง ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสักฯ คลองสียัด และหนองปลาไหล โดยมีสถานการณ์แม่น้ำสายหลัก ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปกติ ซึ่งในครึ่งปีแรกตั้งแต่เดือน ม.ค.- มิ.ย. คาดว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติถึง 3-5 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งที่กำลังจะเกิดในปี 2563 มีแนวโน้มรุนแรงกว่าทุกปี
ที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-51004534