"ระวังโรคใบไหม้ ในมะเขือเทศ และ โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง ช่วงระหว่างวันที่ 15 - 21 ม.ค. 63" เนื่องจากอากาศเย็น มีหมอกในตอนเช้าและมีความชื้นสูง

วันที่บันทึก 2020-01-20 09:30:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

เนื่องจากอากาศเย็น มีหมอกในตอนเช้าและมีความชื้นสูง ส่งผลทำให้มะเขือเทศทุกระยะการเจริญเติบโตมีโอกาสเป็นโรคใบไหม้ (เชื้อรา Phytophthoroinfestans)


อาการที่พบ

พบอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยด้านบนใบพบแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่น คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยาย ใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล บริเวณขอบแผลฉ่ำน้ำมีสีดำ เมื่อพลิกดู ด้านใต้ใบบริเวณตรงกัน จะพบส่วนของ เชื้อราสาเหตุโรคสีขาว แผลจะลุกลาม ออกไปทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลใน ที่สุด หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ มีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลง จัด โรคจะลุกลามอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะพบอาการโรคที่ส่วนของลำ ต้น กิ่งและผล หากเกิดแผลที่ลำต้นหรือ โคนกิ่งจะทำให้ส่วนยอดแสดงอาการ เหี่ยวเฉา เนื่องจากพืชไม่สามารถ ลำเลียงน้ำและอาหารได้ ต่อมากิ่งหรือ ต้นจะแห้งตาย หากโรคเข้าทำลายที่ผลจะทำให้ผลเน่า


แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. หลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่เคยมีการ ระบาดของโรคนี้มาก่อน

๒. ไถพรวนดินและใส่ปูนขาว ตากดินไว้นานกว่า ๒ สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดิน

๓. ปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป ถ้าปลูกมะเขือ เทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง เพื่อลดการ แพร่ระบาดของโรค

๔. ไม่ให้น้ำมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น

๕. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วย สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล ๒๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๓๐ - ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไดเมโทมอร์ฟ ๕๐% ดับเบิ้ลยูจีอัตรา ๒๐ - ๓๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไซมอกซานิล + แมนโคแซบ ๘% + ๖๔% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา ๕๐ - ๖๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือแมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม ๖๔% + ๔% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๓๐ - ๔๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือไอโพรวาลิคาร์บ + โพรพิเนบ ๕.๕% + ๖๑.๓% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๔๐ - ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร โดย พ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ ทุก ๕-๗ วัน ไม่ควรพ่น สารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรใช้ สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

๖. ต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรถอนนำไปทำลายนอก แปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรค

๗. แปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก


พืชตระกูลแตง (เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟัก เขียว ฟักแม้ว มะระจีน และ บวบ) ทุกระยะการเจริญเติบโต โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis)


อาการที่พบ 

มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณ ด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลาม ไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรก บน ใบปรากฏแผลฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลจะขยาย ตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็น แผลเป็นรูปเหลี่ยมเล็กๆ ต่อมาแผล เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพ อากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของ เชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรง แผลบริเวณด้านใต้ใบ แผลจะขยาย ติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและ แห้งตายทั้งต้น พืชที่เป็นโรคจะติดผล น้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะ ลดลง หากเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและปราศจากโรค

๒. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ๕๐ องศา เซลเซียส นาน ๒๐-๓๐ นาที หรือคลุกเมล็ดด้วย สารเมทาแลกซิล ๓๕% ดีเอส อัตรา ๗ กรัมต่อ เมล็ดพันธุ์ ๑ กิโลกรัม

๓. ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง

๔. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศใน แปลงได้ดี และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแตง

๕. กำจัดด้วงเต่าแตง ซึ่งอาจเป็นตัวแพร่เชื้อราสาเหตุ โรค โดยการจับทำลาย หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มี ประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น ไดโนทีฟูแรน ๑๐% เอสแอล อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ คาร์บาริล ๘๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๓๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

๖. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรค เริ่มระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม ๖๔% + ๔% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไซ มอกซานิล + ฟามอกซาโดน ๓๐% + ๒๒.๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ - ๑๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ แมนโคเซบ + วาลิฟีนาเลท ๖๐% + ๖% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ได เมโทมอร์ฟ ๕๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๐ - ๒๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ แมนโคเซบ ๘๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๒๐ - ๓๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้ง บนใบและใต้ใบ ทุก ๕ - ๗ วัน

๗. แปลงที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น ๘. แปลงที่เป็นโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูก พืชตระกูลแตงซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน


ที่มา: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร