"พายุลูกเห็บถล่มเชียงใหม่" หลายพื้นที่ในเชียงใหม่

วันที่บันทึก 2023-03-20 10:00:00.000 ชื่อผู้บันทึก Thitipong Boontan

เกิดฝนตกหนักและพายุลูกเห็บพัดถล่ม บ้านเรือนประชาชน-ทรัพย์สินเสียหาย เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2566 เกิดพายุลูกเห็บตกหลายจุดทั่วเมือง โดยเฉพาะเส้นทางที่ขึ้นดอยสุเทพ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวบ้านที่ไม่เคยเห็นมานาน ทั้งยังสร้างความเสียหายพัดหลังคาบ้านปลิวว่อนหลายหลัง ทำให้บริเวณถนนหน้าทางขึ้นวัดและลานจอดรถ กลายเป็นลานสีขาวจากลูกเห็บที่ตกลงมาจำนวนมาก สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวบ้านและนักท่องเที่ยว โดยบอกว่าไม่มีลูกเห็บตกบนดอยมานานหลายปี และพัดถล่มในหลายพื้นที่ได้แก่ อ.เมืองเชียงใหม่ อ.แม่ริม อ.สันทราย อ.สันกำแพง และ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหาย ความรุนแรงของพายุยังทำให้ต้นไม้ เสาไฟฟ้าและป้ายโฆษณาล้มทับรถยนต์ กีดขวางถนน ส่งผลให้การจรจรบางเส้นทางติดขัด ขณะนี้มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 1 คนและยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ขณะที่นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ สั่งการให้ ปภ.เชียงใหม่ นายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกหน่วยงาน เร่งสำรวจและให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยด่วน ขณะที่สื่อสังคมออนไลน์มีการโพสต์ภาพความรุนแรงของพายุฝนและพายุลูกเห็บที่พัดถล่มในหลายพื้นที่


พยากรณ์อากาศ 20 มี.ค. 2566

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ 

กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน 

เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส 

อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส 

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.


อากาศ 7 วัน ข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2566

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 19 – 22 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 25 มี.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20  ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 39 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

ที่มา(ข้อมูล):เว็ปไซต์ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ http://www.cmmet.tmd.go.th/index1

ที่มา(ภาพ): ไทยรัฐออนไลน์, คมชัดลึก, CM108,