"เตือนภัยเกษตรกร ระวังโรคจุดดำ หรือโรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) ในมะม่วง" เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

วันที่บันทึก 2021-04-05 10:45:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้เกษตรกรตรวจดูแปลงเกษตรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ในระยะ เก็บผลผลิต ติดผลเล็ก รับมือโรคจุดดำ หรือโรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)

ปัญหาที่ควรระวัง ในมะม่วง ??

?? โรคจุดดำ หรือโรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)

?? เตือนผู้ปลูกในระยะ: เก็บผลผลิต ติดผลเล็ก ??

????? ข้อสังเกต/อาการ: 

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน ?? มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ?? เตือนผู้ปลูกมะม่วง รับมือโรคจุดดำ หรือโรคแอนแทรคโนส เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้

?? อาการที่ใบ ใบอ่อนพบจุดฉ่ำน้ำ ต่อมา เปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาลดำ หากอาการ รุนแรงแผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว เสียรูปทรง ยอดอ่อนเหี่ยวและดำ ส่วนใบแก่พบแผลรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม หากอาการรุนแรงแผลจะทะลุเป็นรู

?? อาการที่ช่อดอก พบจุดหรือขีดสีน้ำตาลแดงเล็กๆ บนก้านช่อดอก ต่อมาแผลขยายใหญ่ หากมีความชื้นสูงจะพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล ทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง ดอกหลุดร่วงก่อนติดผล

?? อาการที่ผลอ่อน พบจุดแผลสีน้ำตาลดำ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมผลที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำและหลุดร่วงก่อนกำหนด ในบางครั้งเชื้อสาเหตุโรค เข้าทำลายแบบแฝงในผลอ่อน โดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการของโรคเมื่อผลสุก และอาการรุนแรงมากขึ้นตามความสุกของผล

?? อาการที่ผลแก่ หรือผลสุกหลังเก็บเกี่ยว พบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและยุบตัวลง ถ้ามีหลายแผลขยายมาติดกัน ขนาดของแผลจะกว้างขึ้นและยุบตัวเป็นแอ่งบุ๋ม ทำให้เน่าทั้งผล บางครั้งพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล

????? แนวทางป้องกัน/แก้ไข: 

?? 1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ?? เมื่อพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค ?? นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค

?? 2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น ?? เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม

?? 3. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป

?? 4. พ่นด้วยน้ำหมักสมุนไพร ?? สูตร พีพี 1 ผสมโพรคลอราซ (อ๊อกเทฟ, การ์เรต, เจอราจ) สลับด้วยเบโนมิล (ฟันดาโซล) ในช่วงแตกใบอ่อน ?? ระยะแทงช่อดอก ?? และระยะติดผลอ่อน ??

?? 5. ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว 1-2 เดือน

- ในกรณีไม่ห่อผล ป้องกันด้วยการพ่นโพรพริโคนาโซล (เทปโพรฟิโคนาโซล) ผสมโปรคลอราซ (อ๊อกเทฟ, การ์เรต, เจอราจ) 1 ครั้ง หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ พ่นด้วยเบโนมิล (ฟันดาโซล) 1 ครั้ง ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยวพ่นน้ำหมักสมุนไพร สูตร พีพี 1 ผสมปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 2 ครั้ง ห่านกัน 7 วัน

- ในกรณีห่อผล ควรห่อผลตั้งแต่ผลมีขนาดเล็ก และก่อนห่อผลควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคด้วย

?? 6. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ?? โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป

?? 7. ควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในช่วงดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการผสมเกสรของพืช

?? ที่มา: คณะทํางานพยากรณ์และเตือนภัยศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร, เอกสารวิชาการ ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง

?? รูปภาพ: epicgardening.com, blogs.ifas.ufl.edu, Scot Nelson, waiwiki.org