"เตือนภัยโรคใบจุด ในพืชตระกูลกะหล่ำ และโรคเหี่ยวเขียว ในมะเขือเทศ ช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 6 ต.ค.63" ขอให้เกษตรกรตรวจสอบ

วันที่บันทึก 2020-09-29 14:10:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

ขอให้เกษตรกรตรวจสอบแปลงพืชผักอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันผลผลิตพืชเกิดความเสียหาย สภาพอากาศฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ทำให้เกิดโรคใบจุด (เชื้อรา Alternaria brassicicola และ A. brassicae)  ในพืชืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ) ลักษณะอาการที่พบ โรคนี้เกิดได้ทุกส่วนและทุกระยะการเจริญเติบโต อาการระยะต้นกล้า : เกิดแผลเล็กๆ สีน้ำตาล เข้มที่ลำต้น โดยพืชจะแสดงอาการคล้ายโรค เน่าคอดิน ทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต อาการระยะต้นโตถึงระยะเก็บผลผลิต : มัก พบบนใบและก้านใบ เกิดเป็นแผลจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้นเป็นสี น้ำตาลเข้มถึงดำ ลักษณะเป็นวงค่อนข้าง กลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในกะหล่ำปลี ถ้าเกิดโรคหลังจากห่อหัว แล้ว และสภาพอากาศมีความชื้นสูง จะเกิด อาการเน่าอย่างรุนแรงทั้งหัว ในกะหล่ำดอก และบรอกโคลีถ้าเกิดอาการ ที่ดอก จะทำให้เกิดแผลสีน้ำตาล โดยจะเริ่ม จากช่อดอกที่อยู่ริมนอกลามเข้ามาด้านใน หาก เป็นรุนแรงดอกทั้งดอกจะถูกทำลายทั้งหมด **** โรคนี้สามารถติดเมล็ด ทำให้เมล็ด สูญเสียความงอกหรืออาจแฝงตัวในเมล็ด พันธุ์ทำให้เกิดการระบาดของโรค เมื่อนำไป ปลูกในฤดูถัดไป 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค ไม่นำเมล็ดพันธุ์จาก แปลงที่พบการเกิดโรคมาปลูก

2. แช่เมล็ดในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส (การเตรียมน้ำอุ่นโดยต้มน้ำให้เดือดแล้วเติมน้ำ ธรรมดาลงไปหนึ่งเท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ด ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราไอโพรไดโอน 50% ดับเบิ้ลยู พี อัตรา 5-10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนปลูก

3. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในแปลงปลูกที่เคยมีการ ระบาดของโรค อย่างน้อย 3-4 ปี

4. ไม่ปลูกพืชให้หนาแน่นจนเกินไป ควรให้มี แสงแดดส่องผ่านได้

5. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดการ สะสมของเชื้อโรค

6. เมื่อเริ่มพบโรคในระยะกล้า ควรถอนต้นกล้า นำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที ถ้าเริ่มพบโรคใน ระยะต้นโต ควรตัดใบที่เป็นโรคออกแล้วพ่นสาร ป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น อะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 5-10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน

โรคเหี่ยวเขียว (เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum) ในมะเขือเทศ ทุกระยะการเจริญเติบโต อาการที่พบ อาการเริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ ที่อยู่ล่างๆ มีอาการเหลือง และใบที่เหี่ยวจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ระยะแรกจะแสดง อาการเหี่ยวเฉพาะเวลากลางวันที่อากาศ ร้อนจัด ต่อมาอาการเหี่ยวจะนานขึ้น จนกระทั่งเหี่ยวถาวรทั้งวัน อาการจะลาม ขึ้นไปยังส่วนยอด ขอบใบม้วนลงด้านล่าง เมื่อถอนต้นขึ้นมาพบว่ารากเกิดอาการเน่า และถ้าตัดลำต้นตามขวางแช่น้ำสะอาด ภายใน ๕-๑๐ นาทีจะมีเมือกสีขาวขุ่น (bacterial ooze) ไหลออกมาตามรอยตัด เป็นสายละลายปนกับน้ำออกมา หากอาการ รุนแรงจะพบภายในลำต้นกลวง เนื่องจาก เนื้อเยื่อถูกทำลายโดยเชื้อสาเหตุโรค และ มะเขือเทศจะตายในที่สุด 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรค นี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี

2. ฆ่าเชื้อสาเหตุโรคในดินปลูกโดยการอบดินฆ่าเชื้อด้วย ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัม และปูนขาว อัตรา 800 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยอบทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ก่อนปลูกพืช

3. อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร ควรฆ่า เชื้อโดยจุ่ม หรือพ่นด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือ คลอรอกซ์ 10% ก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มี การระบาดของเชื้อ

4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบต้น ที่แสดงอาการของโรคให้ขุดต้นและดินบริเวณรอบ ต้นออก นำไปทำลายนอกแปลงปลูก โรยปูนขาวบริเวณ หลุมที่ขุดออกเพื่อลดการระบาดของเชื้อสาเหตุโรค

5. ไม่ควรปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ โรค เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือ พริก และถั่วลิสง บริเวณใกล้แปลงปลูกมะเขือเทศที่เป็น โรค เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

6. ปรับระบบการให้น้ำ ควบคุมความชื้นในดิน ไม่ให้มากเกินไป เพื่อลดการเกิดโรค

7.. ในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาด ควรปลูกพืชหมุนเวียน ที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค เช่น ข้าวโพด ข้าว ฝ้าย ถั่วเหลือง สลับกันเป็นเวลามากกว่า 1 ปี

ที่มา:

ข้อมูลกรมวิชาการเกษตร http://at.doa.go.th/ew/pdf/258_oct63_1.pdf

เครดิตภาพ

https://www.kasetkawna.com/article/325/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94

https://www.allkaset.com/diseases/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94.php

https://www.google.com/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2&tbm=isch&ved=2ahUKEwj2jpK_6I3sAhXYi0sFHVLhD4MQ2-cCegQIABAA&oq=%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2&gs_lcp=CgNpbWcQAzIECCMQJzIECCMQJzIECAAQEzIECAAQEzIECAAQEzIECAAQEzIECAAQEzIECAAQEzIECAAQEzIECAAQE1CqL1iBQ2DQRGgEcAB4AIABgAGIAfoFkgEDOC4xmAEAoAEBqgELZ3dzLXdpei1pbWfAAQE&sclient=img&ei=yN5yX_aKFdiXrtoP0sK_mAg&bih=969&biw=1920&rlz=1C1GCEU_enTH873TH873#imgrc=HAvHqGi55TdXLM

https://shopee.co.th/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-Cabbage-i.60653192.2770455078