"เตือนภัย โรครากเน่าและโคนเน่าในพริก ช่วงวันที่ 8 - 14 ก.ค. 63" ขอให้เกษตรกรหมั่นเฝ้าระวังแปลงพริกอย่างสม่ำเสมอ

วันที่บันทึก 2020-07-06 22:00:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

ขอให้เกษตรกรหมั่นเฝ้าระวังแปลงพริกอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสภาพอากาศฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าและ โคนเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii)

อาการที่พบ

พริกแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็ว บางครั้งพบใบที่อยู่ด้านล่าง เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หากอาการ รุนแรงพริกจะยืนต้นตาย บริเวณ โคนต้นพบเส้นใยของเชื้อราสาเหตุ โรค มีลักษณะหยาบสีขาว ต่อมา เส้นใยของเชื้อจะรวมตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เข้มจนเกือบดำ คล้ายเมล็ดผักกาด จึงมักเรียกว่า ราเม็ดผักกาด โรคนี้ พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของ พริก

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ควรไถพลิกดินตากแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน

2. ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ ก่อนปลูกเพื่อปรับสภาพดิน

3. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

4. ควรจัดระยะปลูกให้เหมาะสม และทำค้างหรือขึง เชือกช่วยเมื่อต้นพริกล้มหรือเลื้อยปรกดิน เพื่อให้โคนต้น โปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้มีความชื้นสูง เป็นการลด การระบาดของโรค

5. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นเป็นโรค ให้ถอนต้นและขุดดินบริเวณที่พบ นำไปทำลายนอก แปลงปลูก แล้วรดดินในหลุมและบริเวณใกล้เคียง เพื่อ ป้องกันเชื้อราแพร่ไปยังต้นข้างเคียง ด้วยสารป้องกันกำจัด โรคพืชเช่น คาร์บอกซิน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโทลโคลฟอส-เมทิล 50%ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30 - 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยรดสารทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง 

6. หลังจากเก็บเกี่ยวพริกแต่ละรุ่น ควรกำจัดเศษซากพืช และวัชพืชในแปลงให้หมด เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค

7. ควรทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการ เกษตร เช่น จอบ เสียม ทุกครั้งหลังใช้กับต้นที่เป็นโรค 

ที่มาของข้อมูล กรมวิชาการเกษตร http://at.doa.go.th/ew/pdf/246_jul63_2.pdf

ที่มาของภาพ

1.https://vegetweb.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2/

2.http://www.m-group.in.th/article/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81.html

3.http://microorganism.expertdoa.com/disease_2-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2.php