"เตือนเกษตรกร ระวัง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟในพริก และมอดเจาะผลกาแฟ ช่วงวันที่ 6 - 12 พ.ค. 63" สภาพอากาศร้อน

วันที่บันทึก 2020-05-07 10:55:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

สภาพอากาศร้อน มีฝนตกในบางพื้นที่ ส่งผลให้เกิดโรคในพริกทุกระยะเจริญเติบโต เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงพืชผักและกาแฟอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชทำลายผลผลิต แมลงศัตรูพืชที่ระบาดช่วงนี้ คือ แมลงหวี่ขาว อาการที่พบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณใบ และเป็นพาหะนำโรคที่เกิด จากไวรัส ทำให้ใบพริกหงิก ซีดด่าง หรือ ใบหงิกเหลือง ยอดไม่เจริญ และต้นพริก ไม่สมบูรณ์ ผลพริกที่ได้ไม่มีคุณภาพ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข ใช้สารฆ่าแมลง อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด 

เพลี้ยไฟพริก อาการที่พบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากยอด ใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ ใบ หรือยอดอ่อนหงิกขอบใบหงิกหรือ ม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำลายระยะ พริกออกดอก จะทำให้ดอกพริกร่วงไม่ ติดผล การทำลายในระยะผล จะทำให้ รูปทรงของผลบิดงอ ถ้าการระบาด รุนแรงพืชจะชะงักการเจริญเติบโต หรือแห้งตายในที่สุด

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. สุ่มสำรวจพริก 100 ยอด ต่อไร่ ทุกสัปดาห์ โดยเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ และทำการ ป้องกันกำจัดเมื่อพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ยมากกว่า 5 ตัวต่อยอด ในขั้นต้นควรเพิ่มความชื้นโดยการให้ น้ำ อย่าปล่อยให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืช อ่อนแอ และเพลี้ยไฟพริกจะระบาดอย่างรวดเร็ว

2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันกำจัด แหล่งปลูกใหม่ พ่นด้วยคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด แหล่งปลูกเดิม พ่นด้วยฟิโพรนิล 5% เอสซีอัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมก ตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10% เอสเอล 

อัตรา 20-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำ ตามการระบาด

** ขณะพ่นสารควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอยที่สุด และพ่นให้ทั่วตามส่วนต่างๆ ของพืชที่เพลี้ยไฟพริก อาศัยอยู่ กรณีระบาดรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสภาพอากาศแห้งแล้ง ควรใช้ปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยให้ ต้นพริกฟื้นตัวจากอาการใบหงิกได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น

มอดเจาะผลกาแฟ (กาแฟอะราบิกา) ระยะสุกแก่ ช่วงเก็บ เกี่ยวผลผลิต อาการที่พบ มอดตัวเต็มวัยเข้าทำลายผลกาแฟได้ ตั้งแต่ขนาดผลกาแฟ มีเส้นผ่านศูนย์ กลางประมาณ ๒.๓ มิลลิเมตร ขึ้นไป โดยเพศเมียจะเจาะผลกาแฟบริเวณ ปลายผลหรือสะดือของผล ในผลกาแฟ สามารถพบมอดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต (ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย) มอดเจาะผลกาแฟอาศัยกัดกิน ขยายพันธุ์ใน ผลจนกระทั่งผลกาแฟสุก และยังสามารถอยู่ ในผลกาแฟที่แห้งคาอยู่บนต้น ผลกาแฟที่ หล่นลงพื้นดิน และอยู่ในกาแฟกะลาได้ใน ระยะหนึ่งถ้าเมล็ดกาแฟมีความชื้นเหมาะสม ซึ่งมอดเจาะผลกาแฟยังคงทำลายเมล็ด กาแฟกะลาระหว่างการตากเมล็ด ร่องรอย การเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟจะเห็น เป็นรูขนาดเล็กที่ปลายผลกาแฟบริเวณ สะดือผล มักสังเกตได้ยากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งหากเกษตรกรไม่ทราบ อาจไม่ทันที่จะ ป้องกันหรือจัดการกับมอดเจาะผลกาแฟ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เก็บผลผลิตให้หมดต้น เมล็ด กาแฟที่ร่วงหล่นพื้นต้องเก็บออกไปเผาทำลาย

2. ทำความสะอาดแปลง กำจัดวัชพืช

3. วางกับดักสารล่อ (เมทิลแอลกอฮอล์และ เอทิลแอลกอฮอล์ อัตรา 1:1) จำนวน 5-10กับดักต่อไร่ และเติมสารล่อทุกๆ 2 สัปดาห์

4. พ่นเชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ DOA B4 อัตรา 1 ถุง (200กรัม) ต่อน้ำ 10 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง ช่วงติดผลผลิตจนเก็บเกี่ยว หมด **ทุกวิธีต้องทำร่วมกันแบบผสมผสาน**

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

เครดิตภาพ

http://www.dynamicseeds.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-35224-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

http://www.phtnet.org/2012/01/107/

https://www.thaigreenagro.com/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88/