"เตือนภัยเกษตร โรคใบหงิกเหลือง โรคใบด่างเรียวเล็ก โรคใบด่าง และโรคเหี่ยวลาย ในมะเขือเทศ ช่วงวันที่ 22 - 28 เม.ย. 63" เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้นขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังแปลงเกษตรอย่างสม่ำเสมอ

วันที่บันทึก 2020-04-21 10:00:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ทำให้มะเขือเทศเกิดโรคที่มีสาเหตุจากไวรัส ส่งผลกระทบต่อมะเขือเทศทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งทำให้เกิดโรคดังนี้ 1. โรคใบหงิกเหลือง อาการที่พบ ใบยอดและใบอ่อน หดย่นหงิกมีสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบที่แตกใหม่มี ขนาดเล็ก ต้นแคระแกร็น ทำให้มะเขือเทศไม่ ติดผลหรือติดผลน้อยมาก 2. โรคใบด่างเรียวเล็ก อาการที่พบ ใบแสดงอาการด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ม้วนงอต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ ถ้าอาการ รุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลาง ใบ มะเขือเทศจะชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติด ผล หรือผลมีขนาดเล็ก ถ้าเกิดโรคตั้งแต่ระยะ กล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล 3.โรคใบด่าง อาการที่พบ ใบแสดงอาการด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียว อ่อนหรือสีเหลือง บางครั้งใบอ่อนหดย่นเป็น คลื่นและมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบที่อยู่ส่วน ยอดหรือปลายกิ่งอาจบิดเป็นเกลียว มะเขือ เทศชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ติดผลน้อย ผล อาจเกิดอาการด่าง ถ้าเกิดโรคในระยะกล้า ต้นจะแคระแกร็น ใบมีขนาดเล็กและลดรูป 4. โรคเหี่ยวลาย อาการที่พบ ใบปรากฏแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือ ดำ กระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสี เหลือง ใบยอดด่างและยอดสั้น ใบอ่อนจะ แห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสี เหลืองและขนาดเล็กกว่าปกติ ลำต้นและก้าน ใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำตามแนวยาวของ ลำต้นและก้านใบ มะเขือเทศชะงักการ เจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ที่ผิวของผลจะ พบอาการเนื้อเยื่อตายเป็นวง ถ้าอาการ รุนแรง กิ่งและลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

แนวทางป้องกัน

1. ใช้มะเขือเทศพันธุ์ต้านทานโรค

2. คัดเลือกกล้ามะเขือเทศที่แข็งแรง และไม่เป็นโรคไวรัสมาปลูก

3. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบ แปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อ ไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบ กา กะเม็ง หญ้ายาง กระทกรก ลำโพง โทงเทง และขี้กาขาว

4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็น โรคถอนแล้วนำไปทำลายนอกแปลง ปลูก

5. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสาร ป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการ ระบาดของโรคได้โดยพ่นสารกำจัด แมลงพาหะนำโรค ดังนี้

- แมลงหวี่ขาว ได้แก่ สารอะซีทามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

- เพลี้ยอ่อน ได้แก่ สารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร - เพลี้ยไฟ ได้แก่ สารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

6. ไม่ปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อ สาเหตุโรค ได้แก่ พืชตระกูลแตง ตระกูล ถั่ว ตระกูลมะเขือ ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาวตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน เป็นต้น ใกล้แปลงปลูก มะเขือเทศ

7. แปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซาก พืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ ปลูกมะเขือเทศซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่น ที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค

ที่มาของข่าว: กรมวิชาการเกษตร

แหล่งที่มาของรูปภาพ

https://www.thairath.co.th/content/859000

https://www.svgroup.co.th/blog/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%87/