มีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบก่อน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกที่อาจเกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอก จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 15 - 17 เม. ย. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุม ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 17 เม. ย. 63 อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 17 เม. ย. 63 เมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 17 เม. ย. 63 อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา