"เตือนภัยรับมือสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดเชียงใหม่" จากผลการวิเคราะห์

วันที่บันทึก 2020-03-25 16:30:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

จากผลการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี พบหลายแห่งในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงมีความเสี่ยงเกิดภัยแล้ง เกษตรกรบนพื้นที่สูงมักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก เนื่องจากปริมาณปริมาณฝนลดลง และเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานหลายเดือน ทั้งนี้จากข้อมูลปริมาณน้ำฝน พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำฝนลดลง จำนวน 6 เดือน โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคม – เดือนเมษายน ซึ่งพื้นที่ที่มีฝนทิ้งช่วงมากที่สุด จำนวน 8 เดือน คือ พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ รองลงมา คือ พื้นที่ที่มีฝนทิ้งช่วง จำนวน 6 เดือน คือ พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋ ผาแตก ปางมะโอ และปางหินฝน มีฝนทิ้งช่วงจำนวน 7 เดือน ดังนั้นประชาชนและเกษตรกรจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังช่วงของการเกิดภัยแล้งเป็นบางช่วง โดยเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป เพื่อให้เกิดการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เพื่อให้ประชาชน และเกษตรกร เตรียมรับมือวางแผนการปลูกพืชและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จากข้อมูลเชิงพื้นที่ จำนวน 7 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยรายปี แหล่งน้ำและเขตชลประทาน เส้นชั้นความสูง การระบายน้ำของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และอัตราการให้น้ำของชั้นหินให้น้ำใต้ดิน ด้วยการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น AHP พบว่า อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงภัยแล้งปานกลาง 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน

เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ  https://gianalytics.hrdi.or.th/