"ระวังโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงและแมลงวันผลไม้ ช่วงวันที่ 11 - 17 มี.ค. 63" อากาศร้อน มีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อมะม่วงในช่วงพัฒนาผล

วันที่บันทึก 2020-03-10 16:30:00.000 ชื่อผู้บันทึก Chayanan Sira-thawiphong

อากาศร้อน มีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อมะม่วงในช่วงพัฒนาผล เกษตรกรต้องหมั่นสังเกตุความผิดปกติที่เกิดขึ้น โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง (เชื้อรา Collectorichum gloeosporioides) อาการที่พบ เชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายพืชได้ ทุกระยะ โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้ อาการที่ใบ ใบอ่อนพบจุดฉ่ำน้ำ ต่อมา เปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาลดำ หากอาการ รุนแรงแผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว เสีย รูปทรง ยอดอ่อนเหี่ยวและดำ ส่วนใบแก่ พบแผลรูปร่างค่อนข้างเหลยี่ม หาก อาการรุนแรงแผลจะทะลุเป็นรู อาการที่ช่อดอก พบจุดหรือขีดสีน้ำตาล แดงเล็กๆ บนก้านช่อดอก ต่อมาแผล ขยายใหญ่ หากมีความชื้นสูงจะพบเมือก สีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุ โรคอยู่ที่บริเวณแผล ทำให้ช่อดอกเหี่ยว แห้ง ดอกหลุดร่วงก่อนติดผล อาการที่ผลอ่อน พบจุดแผลสีน้ำตาลดำ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ผลที่ถูก ทำลายจะเป็นสีดำและหลุดร่วงก่อน กำหนด ในบางครั้งเชื้อสาเหตุโรคเข้า ทำลายแบบแฝงในผลอ่อน โดยไม่แสดง อาการของโรค แต่จะแสดงอาการของ โรคเมื่อผลสุก และอาการรุนแรงมากขึ้น ตามความสุกของผล อาการที่ผลแก่ หรือผลสุกหลังเก็บเกี่ยว พบจุดสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลาม และยุบตัวลง ถ้ามีหลายแผลขยายมา ติดกัน ขนาดของแผลจะกว้างขนึ้และ ยุบตัวเป็นแอ่งบุ๋ม ทำให้เน่าทั้งผล บางครั้งพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล 

แนวทางป้องกัน\แก้ไข

1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบพืช เริ่มมีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อ สาเหตุโรค

2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม

3. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควร ใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป

4. แหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ ในช่วงที่มะม่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และ หลังติดผลอ่อน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น ทุก 7-10 วัน โดยพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง สลับกัน และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันเกิน 4 ครั้ง ในช่วงที่มะม่วงติดผล หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตก และอากาศร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรหยุด พ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่น้อยกว่า 15วัน

5. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่ เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็น แหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป 

**** ควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในช่วงดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการผสม เกสรของพืช 

แมลงวันผลไม้ อาการที่พบ เพศเมีย ใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปใน ผล ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ อาศัยและ ชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนที่โตเต็มที่ เจาะออกจากผลเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้ว จึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้ วางไข่ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ใน ระยะเริ่มแรกสังเกตได้ยาก อาจพบ อาการช้ำบรเิวณใต้ผวิเปลือก เมื่อหนอน โตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผลเน่า ผลที่ถูก ทำลายนี้มักมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ 

แนวทางป้องกัน\แก้ไข

1. ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บผลไม้ที่เน่า เสียจากการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ฝังกลบให้ หน้าดินหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร

2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล หรือถุงกระดาษ ที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อ เมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ 60 วัน

3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็น ตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก โดยใช้ กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา 4.1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 11.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ หมั่น สังเกตปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักทุกสัปดาห์ ถ้า พบว่า มีปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักมากขึ้นให้ พ่นสารฆ่าแมลงเพื่อลดปริมาณในแปลงปลูก

4. ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีการระบาดมาก

5. พ่นด้วยเหยื่อพิษที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีน อัตรา 200 มิลลิลิตร ผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรในน้ำ 5 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นเป็นแถบ แถวละ 1 แถบ หรือถ้าพ่นแถว ละ 2 แถบ ให้พ่นแถวเว้นแถว ขนาดกว้างแถบละ 30 เซนติเมตร ในเวลาเช้าตรู่ ควรเริ่มพ่นก่อน เริ่มทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน 

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร